ในบทความนี้ ผมจะเขียนเป็นคำพูดของชาวภูไทอำเภอวาริชภูมินะครับ ซึ่งคำพูดแต่ละท้องที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ฟังพอรู้เรื่องกันครับ

ก้อมี้>> ถ่านไม้
ขี้ซีก>>น้ำครำที่อยู่ใต้ถุนบ้าน
กิ๋นกะพะ >>กินแต่กับ ไม่กินข้าว
เมะ >>แม่ หรือ ยาย
โพะ >>พ่อ หรือ ปู่
เย็ม >> เหยีบ
แห้ม >>ตัวร้อนเป็นไข้
ซับ >>งาม สวย หล่อ
แว้น>>กระจกเงา
สุด>>มุ้ง
...........
จะเอิ๋ง>>ถ้วยรูปร่างคล้ายครกแต่ เล็กกว่า
จ๋อง>>ร่ม
จ้อง >>ทัพพี
โบง>>ช้อน
โอ๋ >>ขันตักน้ำ
โจก>> แก้วน้ำใบใหญ่
จอก>>แก้วน้ำใบเล็ก
ปะตูบอง>>หน้าต่าง
โก๋ง>>ห้องในบ้าน
โก๋งโส้ม>>ห้องนอน
เกร็ดภาษาภูไท
" ภูไท " คือชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมีสำเนียงภาษาพูดเป็นของตนเอง
แต่คำส่วนมากก็ใกล้เคียงกับภาษาของชนชาติไทยสาขาอื่นๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาภูไทไว้ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของไทยภาษาหนึ่ง
ข้าพเจ้าจึงขอเขียนเกร็ดของภาษาภูไทในแง่ที่เห็นว่าแปลกแตกต่างจากภาษาไทย สาขาอื่น ตัวหนังสือภูไท
" ท่านถวิล เกษรราช " เขียนไว้ในหนังสือ " ประวัติผู้ไทย " ว่าแต่เดิมท่านก็เชื่อว่าชาวภูไทมีแต่ภาษาพูด
ต่อมาท่านได้ค้นพบว่าชาวภูไทมีหนังสือของตนใช้ แต่เนื่องจากต่อมาได้รับเอาตัวอักษรของลาวบ้าง
ศึกษาอักษรธรรมบ้างในการเขียนอ่าน อักษรของตนก็เลยหดหายไปไม่มีใครศึกษาสืบต่อ ในที่นี้ขอคัดลอกจาก
หนังสือท่านถวิล เกษรราช ให้ดูว่าชาวภูไทนั้นเคยมีอักษรหรือตัวหนังสือของตนใช้มาก่อนพอเป็นหลักฐาน เท่านั้น (ใบแทรก)
และต่อไปนี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่เป็นภาษาพูด

เสียงสระในภาษาภูไท
สระ ใอ (ไม้ม้วน) ท่านสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เขียนไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย ว่า "สระ ใอ
ใช้กับคำที่เรานำมาจากภาษาไทยถิ่น เช่น ไทยดำ ไทยขาว ไทยคำตี่ พูไทย ไทยในรัฐฉาน ซึ่งเขาออกเสียงเป็น เออ
แต่เราออกเสียงให้เหมือนเขาไม่ได้ เราฟังดูจับได้ว่าคล้ายๆ เสียง ไอ ของเรา
ดังนั้นเราคิดรูปสระขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับ ไอ แต่ไม่ให้เหมือนกัน จึงคิด ใ (ไม้ม้วน) ขึ้น" ซึ่งเป็นความจริงว่า สระ ใอ (ไม้ม้วน)
ในภาษาภูไทเกือบทั้งหมดจะออกเสียงเป็นสระ เออ (วรรณยุกต์โทบางคำ) ดังนี้
ใหญ่ ออกเสียงเป็น เญอเช่นยาห้ามหน้าห้ามต๋าผู้เญอ เพิ้นเด้อ
ใหม่ ออกเสียงเป็น เมอ
ให้ ออกเสียงเป็น เห้อเช่นหาผ้าเมอ มาเห้อ กูเซอ แนสูเอ๊ย
ใส่ ออกเสียงเป็น เซอ
สะใภ้ ออกเสียงเป็น ลุเภ้อ
ใน ออกเสียงเป็น เน้อเช่นลุเภ้อ เอาเส้อ (เสื้อ) ไป๋ไว้ เน้อ ตู้เห้อแน
ใจ ออกเสียงเป็น เจ๋อเช่นเอ๋าเจ๋อเซอหนังสือหนังหาแนลุเอ๊ย
ใช้ ออกเสียงเป็น เซ้อเช่นเซ้อเห้อไป๋เมิง (เมือง) ฮ่อมิเห้อว้าไก๋
ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อเช่นเฮิน (เรือน) ข้อยยูทางบ้านเต้อพุ้น
ใด ออกเสียงเป็น เลอเช่นหองเจ้านะอั๋นเลอ
ใคร ออกเสียงเป็น เพอเช่นเพอเอ็ดเผอเหลอยูซิเลอ
ใกล้ ออกเสียงเป็น เค้อเช่นเพอยูไก๋เพิ้นเห้อ เพอยูเค้อเพิ้นซัง
ใบ้ ออกเสียงเป็น เบ้อเช่นคนขี้เบ้อยาเห้อมันไป๋นำเนาะ
ใบ ออกเสียงเป็น เบ๋อเช่นขอปิดค้างเห้อเห็นเคอ ปิดเบ๋อเห้อเห็นมะดาย
ใย ออกเสียงเป็น เยอเช่นบ้าเบ้อถือเยอโบ๋ (บัว) 


เปรียบเทียบร้อยกรองภาษาไทย กับ ภาษาภูไท ในเรื่องสระ ใอ (ไม้ม้วน) เป็นสระ เออ ดังนี้
สระ ใอ (ไม้ม้วน) ในภาษาไทย
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสแลปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

.....................................
สระ เออ ในภาษาภูไท
ผู้เญอหาผ้าเมอ เห้อลุเภ้อเซ้อค้องคอ
เฟอเจ๋อเอ๋าเซอฮอ มิหลงเหลอเพอขอดู (เบิง)
จะเค้อลงเฮอเบ๋อ เบิงน้ำเสอแลป๋าปู๋
เผอเหลอยูเน้อตู้ มิเซ้อ(แม้น)ยูเต้อตังเต๋ง
บ้าเบ้อถือเยอโบ๋ หูต๋าโมมาเค้อเคง
เล้าท้องยาลิเล้ง เพง(เพียง)ซาว เออ จำจงดี
หมายเหตุ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า
คำว่า จะใคร่เทียบภาษาภูไทว่าจะเค้อ
คำว่า มิใช่เทียบภาษาภูไทว่ามิเซ้อ (น่าจะว่า มิแม้น)
คำว่า น้ำใสเทียบภาษาภูไทว่าน้ำเสอ (น่าจะว่า ใส )
คำว่า ใฝ่เทียบภาษาภูไทว่าเฟอ
จึงฝากผู้รู้นักปราชญ์ทั้งหลายวินิจฉัยต่อไป
สระ เอือ ออกเสียงเป็นสระ เออ
เสือ ออกเสียงเป็น เสอ
เหลือ ออกเสียงเป็นเหลอเช่นกิ๋นซ้างกะมิเหลอ กิ๋นเสอกะมิอีม
เกลือ ออกเสียงเป็น เก๋อ
เหนือ ออกเสียงเป็น เหนอ เช่นไป๋เอ๋าเก๋อบ้านเหนอเห้อแน
สระ เอีย ออกเสียงเป็นสระ เอ
เมีย ออกเสียงเป็น เม เช่นเอ๋าเมไป๋แล้วมิเห้อตีต๋างพ้า ห้า (ฆ่า) ต๋างเสม
เสีย ออกเสียงเป็นเสเช่นฮีตแตปู่มิเห้อยา ฮีตแตย่ามิเห้อเส
เบี้ย ออกเสียงเป็นเบ้ เช่นมิเห้อคบคนจรนอนมินสูบฟิน(ฝิ่น)กิ๋นกัญชา ดิ้นเบ้แทงโป๋ มะไหโลมันมิดีดาย
สระ ออ สะกดด้วย ก ออกเสียงเป็นสระ เอาะ
บอก ออกเสียงเป็นเบ้าะ เช่นเบ้าะเมอไฮ้มิเห้อถะไหลเมอนา
ออก ออกเสียงเป็นเอ้าะเช่นฮีตแตปู่มิเห้อยา ฮีตแตย่ามิเห้อเส
นอก ออกเสียงเป็นเนาะ เช่นเอ้าะเนาะบ้านกะเห้อย่านเพิ้นเว้าแนวมิดี๋
คอก ออกเสียงเป็นเคาะ เช่นเคาะโงเคาะควายเคาะไกเคาะก๋าเห้อโหซามันแน
ศอก ออกเสียงเป็นเซาะเช่นยอเซาะกะแกวน ยอแหนกะมิหึ้นแล้วอาญาเอ้ย
มะกอก ออกเสียงเป็นมะเก้าะ
ตอก ออกเสียงเป็นเต้าะเช่นเอ๋ามะเก้าะเต้าะโหมันโลด
สระ อัว ออกเสียงเป็นสระ โอ
ผัว ออกเสียงเป็นโผ เช่นโผเมนี้กู**ยาได้ว้า ข้อยและเจ้าคำนี้จึงค่อยจา
ตัว ออกเสียงเป็นโต๋
บัว ออกเสียงเป็นโบ๋เช่นซ้างตายทั้งโต๋ เอ๋าเบ๋อโบ๋มาปก

[size=12pt]คำภาษาภูไทที่เด็กรุ่น ใหม่อาจไม่ทราบ
ขอรวบรวมคำภาษาภูไทที่มีแนวโน้มว่าเด็กรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยได้ยินหรือได้พูด หรืออาจจะหดหายไปเลย
เพราะคำบางคำข้าพเจ้าเองยังไม่ทราบว่าเป็นภาษาภูไท แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่เรียงคำตามลำดับอักษร
ถือเอาตามความสะดวกของข้าพเจ้า หรือค้นคว้ามาได้เท่าไรก็เอาเท่าที่หาได้

คำภาษาภูไท
.....................................................
ก้อมี้>> ถ่านไม้
ขี้ซีก>>น้ำครำที่อยู่ใต้ถุนบ้าน
กิ๋นกะพะ >>กินแต่กับ ไม่กินข้าว
เมะ >>แม่ หรือ ยาย
โพะ >>พ่อ หรือ ปู่
เย็ม >> เหยีบ
แห้ม >>ตัวร้อนเป็นไข้
ซับ >>งาม สวย หล่อ
แว้น>>กระจกเงา
สุด>>มุ้ง
...........
จะเอิ๋ง>>ถ้วยรูปร่างคล้ายครกแต่เล็กกว่า
จ๋อง>>ร่ม
จ้อง >>ทัพพี
โบง>>ช้อน
โอ๋ >>ขันตักน้ำ
โจก>> แก้วน้ำใบใหญ่
จอก>>แก้วน้ำใบเล็ก
ปะตูบอง>>หน้าต่าง
โก๋ง>>ห้องในบ้าน
โก๋งโส้ม>>ห้องนอน
วาริชภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร โรงเรียนประจำอำเภอคือโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอวาริชภูมิตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอวาริชภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่
1. วาริชภูมิ
(Waritchaphum)
20 หมู่บ้าน
2. ปลาโหล
(Pla Lo)
16 หมู่บ้าน
3. หนองลาด
(Nong Lat)
11 หมู่บ้าน
4. คำบ่อ
(Kham Bo)
18 หมู่บ้าน
5. ค้อเขียว
(Kho Khiao)
6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอวาริชภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลวาริชภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวาริชภูมิ
  • เทศบาลตำบลปลาโหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาโหลทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคำบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำบ่อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวาริชภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาริชภูมิ (นอกเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค้อเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อเขียวทั้งตำบล
ชาวภูไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากภูไทในภาคเหนือของลาว และญวน กลุ่มภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดอาจจะอยู่แถบลุ่มน้ำโขง และแถบเทือกเขาภูพาน

เช่น จังหวัดนครพนม ได้แก่อำเภอคำชะอี ธาตุพนม เรณูนคร นาแก จังหวัดสกลนคร ได้แก่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง สหัสขันธ์ ส่วนภูไทผู้เข้าสู่ภาคกลางในจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ในย่านนั้นเรียกว่า 'ลาวโซ่ง'

เผ่าภูไท เป็นคนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และอาณาจักรล้านช้าง การเคลื่อนย้ายของชาวภูไท เข้าสู่ภาคอีสานมีหลายครั้ง และมาจากที่ต่างๆ จึงทำให้กลุ่มภูไทที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดสกลนคร เรียกชื่อตัวเองตามแหล่งเมืองเดิมของตนเช่น ผู้ไทวัง คือ ผู้ไทที่อพยพมาจากเวงวัง มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบอำเภอพรรณานิคม

ผู้ไทกระป๋อง คือภูไทที่อพยพมาจากเมืองกะปอง มาตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอวาริชภูมิ ผู้ไทกะตาก คือผู้ไทที่อพมาจากเมืองกะตาก มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตำบลโนนหอม และแถบริมหนองหาร ทางทิศใต้

ชาวภูไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า 'นายฮ้อย' เผ่าภูไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดี กริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง

เผ่าภูไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ย้อมครมเกือบสีดำ เรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม

วัฒนธรรมประเพณี เผ่าภูไท มีเอกลักษณ์เป็นจุดเด่นหลายประเภท เช่น การแต่งทำนองดนตรี เรียกว่า 'ลายเป็นเพลงของภูไท' มีบ้านแบบภูไทคือ มีป่องเอี้ยม เป็นช่องลม มีประตูป่อง หน้าต่างยาวจรดพื้น มีห้องภายในเรือนเป็นห้องๆ ที่เรียกว่า 'ห้องส่วม'

นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมการทอผ้าห่มผืนเล็กๆ ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาวใช้คลุมไหล่ เรียกว่า ผ้าจ่อง นอกจากนี้แล้วยังมีผ้าแพรวา ใช้ห่มเป็นสไบ ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีผ้าลาย ใช้เป็นผ้ากั้นห้องหรือห่มแทนเสื้อกันหนาวได้ ซึ่งมีแหล่งใหญ่อยู่บ้านนางอย อำเภอเตางอย จังหวัดสกลนคร ประเพณีที่สำคัญของเผ่าภูไทซึ่งถือกันแต่โบราณ ได้แก่ การลงข่วง พิธีแต่งงาน การทำมาหากิน การถือผี และการเลี้ยงผี

อีกข้อมูลหนึ่ง ขออนุญาติบ่าวพรรณานำข้อมูลมารวมกันนะครับ
ประวัติความเป็นมา
ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ
1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า ?ภูไทขาว?
2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ?ภูไทดำ?ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น ?สิบสองจุไทย?เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย
การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ
ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
ระลอกที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก
ระลอกที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศ ไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดน ลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ใน ประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้นชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้
กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้านอำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)
กลุ่มที่ 8 อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

วัฒนธรรมการแต่งกาย

โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก

ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า?ผ้าดำ? หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย
เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกัน หนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน


ฟ้อนภูไทหรือผู้ไท พระธาตุเชิงชุมเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ซึ่งในสมัยโบราณนั้นต้องมีคนคอยเฝ้าดูแล รักษาทำความสะอาดอยู่ตลอดทั้งปี ซึ่งพวกที่ดูแลทำนุบำรุงพระธาตุเชิงชุมนี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี รัษฏชูปการ ซึ่งมีหลายชนเผ่าด้วยกัน ซึ่งในกลุ่มผู้ดูแลนั้นมีชาวผู้ไทรวมอยู่ด้วย ในตอนนั้นมักจะมีงานบุญทอดผ้าป่าและฉลององค์พระธาตุเชิงชุม ชาวบ้านจะนำข้าวเม่า ปลาย่าง มาติดกัณฑ์เทศน์ ชาวผู้ไทซึ่งเป็นกลุ่มที่อาสาเป็นผู้ปฏิบัติรักษาองค์พระธาตุ โดยเฉพาะผู้ชายจะแต่งตัวนุ่งกางเกงขาก๊วย และนุ่งโสร่งทับ สวมเสื้อดำ จะฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยสวยงาม โดยร้องและฟ้อนกันเป็นหมู่ๆ แล้วจึงถวายผ้าป่า ต่อมาได้มีการดัดแปลงท่าฟ้อนให้สวยงามยิ่งขึ้นเปลี่ยนจากผู้แสดงชายมาเป็น หญิงล้วน

ชาวผู้ไทเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย คือ บริเวณลาวตอนเหนือ บางส่วนของเวียตนามเหนือ และทางตอนใต้ของจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไล เมืองแถง เรียกว่า ผู้ไทดำ ชาวผุ้ไทสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ถึงแม้จะมีผู้แบ่งเป็นกลุ่มผู้ไทแดงและผู้ไทลาย แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. 2526 : 2) ชาวผู้ไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน และแยกย้ายกันตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในเขต 3 จังหวัด คือ

ชาวผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอคำม่วง
ชาวผู้ไทจังหวัดสกลนคร อยู่ในอำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ
ชาวผู้ไทจังหวัดนครพนม อยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูง
ต่อมาชาวผู้ไทในท้องถิ่นอื่นได้มาเห็นจึงได้นำไปประยุกต์ท่าฟ้อนให้สวยงาม และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการฟ้อนขึ้น การฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า ประกอบด้วย



1. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนครได้ปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร
ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ
สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพก ศีรษะ

2. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนคร เป็นฟ้อนผู้ไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครจะสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนที่ชาวผู้ไทสกลนครประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีเนื้อเพลงสลับกับทำนอง การฟ้อนจึงใช้ตีบทตามคำร้องและฟ้อนรับช่วงทำนองเพลง ท่าฟ้อนมีดังนี้ ท่าดอกบัวตูม ท่าดอกบัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด ท่านาคีม้วนหาง ดนตรีใช้กลองกิ่ง แคน กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ
เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน

3. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในถิ่นอื่น จะสวมเสื้อสีดำขลิบด้วยผ้าขิด ห่มผ้าแพรวา นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีเชิง ลีลาการฟ้อนได้รับการผสมผสานจากท่าฟ้อนผู้ไท และเซิ้งบั้งไฟ ท่าฟ้อนจะเริ่มจากท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว โดยใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ฟ้อนผู้ไทของกาฬสินธุ์จะมีการขับลำประกอบเรียกว่า "ลำภูไท" ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าเป็นการประยุกต์การฟ้อนผู้ไทของทั้ง 3 ถิ่น ให้เห็นถึงลีลาการฟ้อนที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละถิ่น ซึ่งการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันของชาวผู้ไททั้ง 3 เผ่า
ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ ผู้ไทสกลนครและผู้ไทเรณูนคร ในการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง 3 เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่าและ หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง

สวยสุดซึ้งสาวภูไท..


เซิ้งกระติ๊บ

เซิ้งกระติบข้าว เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งเป็นชาวไทยเผ่าหนึ่งที่มีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านาน ในดินแดนทางภาคอีสานของไทย เช่น ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดข้างเคียง นิยมเล่นกันในโอกาสรื่นเริงวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ การแสดงจะเริ่มด้วยชาวภูไทฝ่ายชายนำเอาเครื่องดนตรี และเครื่องประกอบจังหวะหลายอย่าง ได้แก่ แคน เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งใช้ปากเป่าเป็นทำนองเพลง แก๊บ (กรับ) กลองเถิดเทิง กลองแต๊ะ โหม่ง และฉาบ มาร่วมกันบรรเลงเพลงที่มีทำนองและจังหวะรุกเร้า ต่อจากนั้นเหล่าสตรีชาวภูไทในวัยต่างๆ ซึ่งมีกระติบข้าว แขวนสะพายอยู่ข้างตัว ออกมาเต้นเซิ้งเป็นการแสดงอากัปกิริยาของสตรีชาวภูไท ขณะเมื่อสะพายกระติบข้าวเพื่อนำอาหารไปส่งให้แก่สามี และญาติพี่น้องที่ออกไปทำงานอยู่นอกบ้าน

เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองแต๊ะ กลองยาว แคน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ

จังหวะ ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง เพิ่ง

การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้

อุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว หรือกล่องใส่อาหารสานด้วยไม้ไผ่  


อีกข้อมูลหนึ่ง...ของชนเผ่าภูไท

ตำนานชาวผู้ไท(ภูไท)

เป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาถึงการกำเนิดของชาวผู้ไท(ภูไท)ว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมาเทพทั้ง5 ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์ตกลงมาบนภูเขาน้ำเต้าได้แตกออกจากน้ำเต้าทีละคู่ตาม ลำดับคือ ข่าแจะผู้ไทยลาวพุงขาวฮ่อ(จีน)และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในปัจจุบันนี้ (วัน โพธิไสย 2546, สัมภาษณ์)

ถิ่นกำเนิดของชาวผู้ไท (ภูไท)

สันนิษฐานว่าถิ่นเดิมของชาวผู้ไท (ภูไท)ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของมณฑลยูนานในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาจึงได้อพยพเข้าไปตั้งอาณาจักรที่ดินแดน
สิบสองจุไทย มีเมืองแถงเป็นเมืองหลวง เมืองไหล หรือ ไลเจา เป็นเมืองสำคัญรองลงมาและเมืองเล็กเมืองน้อยอีก 10 เมือง รวมเป็น 12 เมือง บริเวณแห่งนี้เป็นตะเข็บรอยต่อของอาณาจักรจีน ญวน ลาว และยังใกล้ชิดกับล้านนาและพม่าอีกด้วยบางครั้งแคว้นสิบสองจุไทยยังเคยตกอยู่ ในอำนาจอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ดังกล่าวด้วย แคว้นสิบสองจุไทย มีอาณาจักรกว้างขวางมาก ทิศแหนือติดกับฮุนหนำของจีนทิศตะวันออกติดกับแคว้นตังเกี๋ยของญวน ทิศตะวันตกติดกับสิบสองปันนาซึ่งขึ้นกับพม่า ทิศใต้ติดต่อกับศรีสัตนาคนหุตหรือล้านช้าง จากการที่มีดินแดนติดต่อกับหลายอาณาจักร ทำให้อาณาจักรต่างๆ เหล่านั้นเข้ามามีอิทธิพลต่อกับแคว้นสิบสองจุไทยแล้วแต่ว่าช่วงนั้นใครจะมี กำลังเข้มแข็งกว่ากัน บรรดาอาณาจักรดังกล่าวแล้ว ล้านช้างจะมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ญวนและจีน แคว้นสิบสองจุไทยต้องส่งเครื่องราชบรรณาถวาย 3 ชาตินี้ จนได้ชื่อว่า ?เมืองสามฝ่ายฟ้า? หรือ ?เมืองสามส่วยฟ้า? เมืองแถง ซึ่งเป็นเมืองหลวงอยู่ใกล้ชิดกับลาว จึงถือธรรมเนียมแบบลาว เรียกตนเองว่า ?ผู้ไทยดำ? ส่วนเมืองไลตั้งอยู่ติดไปทางจีนก็ถือธรรมเนียมแบบจีน เรียกตนเองว่า ?ผู้ไทขาว? ผู้ไทดำกับผู้ไทขาวนั้นพูดภาษาเดียวกัน ต่างกันตรงที่เวลาไปงานศพ ผู้ไทดำจะแต่งชุดสีดำตามธรรมเนียมลาว ส่วนผู้ไทขาวจะแต่งหรือไว้ทุกข์ด้วยสีขาว ตามธรรมเนียมของจีน (สุนทร ภูศรีฐาน, ม.ป.ป., 8)
การตั้งถิ่นฐานของชนชาวผู้ไทในประเทศไทย

ชาวผู้ไทได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในรัชสมัยของพระเจ้าธนบุรีราวในปี พ.ศ. 2321 โดยพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดฯ ให้เจ้าพระยาจักรกรี เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเมืองล้านช้าง แล้วกวาดต้อนชาวผู้ไทยมาอยู่แถบภาคกลางของประเทศไทย คือ อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการทดแทนคนไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา จนต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ และได้กวาดต้อนครอบครัวของชาวผู้ไทยจากเมืองต่างๆ ในประเทศลาวที่เมืองวัง เมืองคำม่วน เมืองมหาชัย ให้เข้ามาอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย โดยให้อยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม โปรดให้ตั้งบ้านเมืองขึ้นปกครองต่อกันมา เป็นเมืองใหญ่ๆ ที่มีชาวผู้ไทอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คือ เมืองเรณูนคร เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองคำชะอี และเมืองพรรณนานิคม นอกจากนั้นก็กระจัดกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ คือ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด และอุดรธานี (ถวิล เกสรราช, 2512, 1-3)

ประเพณีผูกแขนของชาวภูไท




บ้านเรือนทรงภูไท



 
พงศาวดารชาติภูไท หรือ ผู้ไทย
กำเนิดชนชาติภูไท หรือ ผู้ไทย ***นักปราชญ์ทางวิชาประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ได้ลงความเห็นว่า ในพิภพนี้มีมนุษย์เกิดขึ้นเป็นเวลาประมาณแสนปีมาแล้ว และคาดคะเนว่าดินแดนอันเป็นที่กำเนิดของมนุษย์ดั้งเดิมนั้นอยู่ใจกลางชมพู ทวีป แถวภูเขาอันไต อันเป็นดินแดนภาคใต้ของมองโกลในปัจจุบันนี้
*** มนุษย์ที่เกิดจากใจกลางชมพูทวีปมีหลายชนชาติ แต่ชนชาติใหญ่ๆที่ตั้งหลักฐานหากินอยู่ในด้านอาชีพนี้ ๔ ชนชาติ คือ
๑. ชนชาติจีน อาศัยอยู่ในดินแดนรอบๆทะเลสาปแคสเปียน ทางทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ หากินด้วยการเลี้ยงสัตว์
๒. ชนชาติตาด อาศัยอยู่ในดินแดนตามเลียบทะเลทราย ใช้ม้าเป็นพาหนะ หากินด้วยการปล้น
๓. ชนชาติชะนงยู้ อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศกเว (เกาหลี) ตลอดถึงมองโกล หากินด้วยการปล้น
๔. ชนชาติอ้ายลาว อาศัยอยู่ในดินแดนระหว่างแม่น้ำฮวงโห กับแม่น้ำยั้งจี้ (แยงชีเกียง) หากินด้วยการกสิกรรม
ชนชาติภูไทหรือ ผู้ไทย ***เป็นชนชาติหนึ่งที่ตั้งหลักฐานบ้านเรือนปะปนอาศัยอยู่รวมกับกลุ่มคนชน ชาติต่างๆ ในอดีต คือ จีน ลาว พวน ไท ญ้อ ภูไท ฯลฯ มีนิสัยส่วนตัวรักความสงบ อยู่กันอย่างสันติ มีความรักหวงแหนในเผ่าพันธุ์ มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี ความเชื่อและภาษพูดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ดังนั้นจึงมีการหลอมรวมขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน รวมกลุ่มเรียกตนเองเป็นกลุ่มชนชาติอ้ายลาวในอดีตนั่นเอง ปัจจุบันนี้ คนชนชาติภูไทหรือผู้ไทย มีอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศจีน ลาว พม่า เวียตนาม และไทย เป็นจำนวนมาก ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผีและเคารพวิญญานบรรพบุรุษ การแต่งกาย ดนตรี และภาษาพูด ไว้เช่นในอดีตอย่างเดียวกัน กำเนิดคำว่า ภูไท หรือ ผู้ไทย หรือ คนไต ทั้ง ๓ คำนี้ เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันเป็นคำที่ใช้เรียกคนชนชาติเดียวกัน หนังสือนิทานขุนบรมราชาธิราชกล่าวไว้ว่า คนชาติภูไทนี้ เกิดจากน้ำเต้าใหญ่ ๒ หน่วย และมีนักปราชญ์หลายท่านให้ความเห็นไว้ว่า คำว่า ภูไท หรือ ผู้ไทย หรือ คนไต เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่าเทียน แถน ไท้ ซึ่งหมายถึง ฟ้า หรือ ดวงดาว คนชนชาตินี้รักความอิสระ ชอบอาศัยอยู่ในที่สูง คือภูเขา มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่ากลุ่มชนชาติใดๆ มีความเชื่อในการนับถือลัทธิผีฟ้า และเคารพวิญญานบรรพบุรุษ
ชนชาติภูไท หรือ ผู้ไทย ได้ตั้งหลักฐานบ้านเรือนอยู่ในดินแดนอ้ายลาว รวมกลุ่มอยู่กับชนชาติต่างๆ อยู่ในประเทศจีนหรือมณฑลเสสวนทุกวันนี้ มีเมืองใหญ่ ๓ เมือง คือ
๑. เมืองลุง (นครลุง) อยู่ตอนต้นของแม่น้ำฮวงโหด้านเหนือ
๒. เมืองปา (นครปา) อยู่ตอนใต้แม่น้ำฮวงโห เหนือเมืองเสสวน ซึ่งเป็น เมืองใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต
๓. เมืองเงี้ยว(นครเงี้ยว) อยู่ทางใต้ของเมืองลุงและเมืองปา
*** พงศาวดารจีน บันทึกไว้ว่า เมื่อประมาณ (ก่อน ค.ศ.๘๔๓) พวกชนชาติตาด ได้เข้ามารบชนชาติจีน แล้วล่วงเลยเข้ามารบพวกชนชาติอ้ายลาวที่เมืองลุง ชนชาติอ้ายลาวที่รักสันติ รักความสงบ จึงอพยพหนีลงมาอยู่ที่เมืองปา ต่อมาอีกประมาณ ๗๐ ปี พวกจีนมีกำลังมากขึ้นจึงยกทัพมารบนครปาและนครเงี้ยว ชนชาติอ้ายลาวจึงอพยพลงมาอยู่ทางใต้ของเมืองเสฉวน ตลอดลงมาถึงเมืองกุยจิว กวางตุ้ง กวางใส และเมืองยูนาน เป็นอันมาก (เวลานั้นพวกจีนเรียกพวกอ้ายลาวว่า ไต ) แต่ชนชาติอ้ายลาวก็ยังคงรักษาเอกราชเมืองปาและเมืองเงี้ยวไว้ได้
*** ปี พ.ศ.๒๐๕ (ก่อน ค.ศ.๓๓๘) พวกอ้ายลาวที่นครปาถูกจีนรุกรานสู้ไม่ได้ จึงได้ถอยลงมารวมกับพวกที่มาก่อนที่นครเงี้ยว และในปี พ.ศ.๒๙๗(ก่อน ค.ศ.๒๔๖) พระเจ้าแผ่นดินจีนนามว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้สร้างกำแพงเมืองจีนยาว ๑,๐๐๐ ลี้(๑ ลี้ เท่ากับ ๕๐๐ เมตร) ได้ยกทัพมาตี นครเงี้ยวของอ้ายลาวหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จและได้รบติดพันกันมาถึงปี พ.ศ.๓๒๘ (ก่อน ค.ศ.๒๑๕) นครเงี้ยวจึงได้เสียเมืองให้แก่จีน พวกอ้ายลาวจึงได้อพยพลงมาทางใต้ และได้รวมกันตั้งเมืองหลวงขึ้นใหม่ชื่อ นครเพงาย มีขุนเม้า(ขุนเมือง)เป็นกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินจีนนามว่า วู้ตี้ฮ่องเต้ ได้แต่งทูตไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ทูตจีนคณะนั้นจะเดินทางผ่านนครเพงาย เจ้าขุนเม้าไม่ยอมให้ผ่านไป พระเจ้าวู้ตี้ฮ่องเต้ ไม่พอใจมากจึงยกกองทัพมาตีนครเพงาย อยู่หลายปี สุดท้ายนครเพงายได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนในปี พ.ศ.๔๕๖ ปี พ.ศ.๕๕๒ (ค.ศ.๙) ประเทศจีนเกิดการวุ่นวาย ขุนวังเมืองกษัตริย์ผู้สืบสกุลเมืองนครเพงาย เห็นเป็นโอกาสดี จึงประกาศอิสระภาพไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของจีน และได้ครองเมืองเป็นเอกราชต่อมาถึงปี พ.ศ.๕๙๓ (ค.ศ.๕๐) จีนได้เข้ารุกรานและได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอีกครั้ง ในระหว่างนี้ พวกอ้ายลาวได้แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
๑. พวกที่อยู่นครเพงาย เรียกตนเองว่าพวกอ้ายลาว
๒. พวกที่อพยพหนีลงมาทางใต้เรื่อยๆ เรียกตนเองว่าพวกงายลาว
*** พ.ศ.๖๐๐ เศษ (ค.ศ.๕๗) พระเจ้ามิ่งตี้ฮ่องเต้ พระเจ้าแผ่นดินจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาและได้นำเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ ประเทศจีน ในสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินของอ้ายลาว คือ ขุนหลวงลี้เมาอยู่นครงายลาว ก็ได้นับถือพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ.๖๑๒ แต่เป็นฝ่ายลัทธิมหายาน ถึงปี พ.ศ.๖๒๑(ค.ศ.๗๘) ขุนไลลาด ราชโอรสได้ครองเมืองแทน เวลานั้นพวกจีนถือว่า นครงายลาวเป็นเมืองขึ้นของจีน จึงได้ส่งขุนนางมากำกับดูแล ขุนไลลาดไม่ยอมพวกจีนจึงยกกองทัพมาตีนครงายลาว พวกอ้ายลาวจึงตกเป็นเมืองขึ้นของจีนและจีนได้บังคับให้พวกอ้ายลาวเสียส่วย ชายหนุ่มคนหนึ่งให้เสียส่วย เสื้อสองตัวกับเกลือห่อหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาพวกอ้ายลาวจึงพากันอพยพลงมาทางใต้เรื่อยๆ และได้มาตั้งหลักฐานบ้านเรือนอยู่รอบๆ หนองแสหรือ หนองกะแสแสนย่าน(ปัจจุบันจีนเรียกว่า ตาลิฟู) อยู่ในเขตแขวงมณฑลยูนานของจีนทุกวันนี้ พอดีในช่วงนั้น พวกจีนได้เกิดแตกแยกกันออกเป็นสามพวก (สามก๊ก) คือ โจโฉพวกหนึ่ง เล่าปี่พวกหนึ่ง ซุ่นกวนพวกหนึ่ง อาศัยที่พวกจีนแตกแยกต่อสู้กันเองอยู่นั้น พวกอ้ายลาวจึงได้โอกาสตั้งตัว และสร้างเมืองใหญ่ขึ้นได้รวม ๖ เมืองคือ
๑. เมืองสุย (เมืองมงชุ่ย)
๒. เมืองเอ้ยเช้ (เมืองเอ้ยเช้)
๓. เมืองล้านกุง (เมืองล้างกง)
๔. เมืองท่งช้าง (เมืองเท้งเชี้ยง)
๕. เมืองเชียงล้าน (เมืองชีล้าง)
๖. เมืองหนองแสน (เมืองม้งเส)
*** เมืองหนองแส เป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศ จึงเรียกนามของประเทศในเวลานั้นว่า อาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า พวกอ้ายลาวได้ตั้งตัวเป็นเอกราช ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองต่อมากว่า ๑๐๐ ปี ถึง พ.ศ.๗๖๘ (ค.ศ.๒๒๕) ขงเบ้ง แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ ได้ยกกองทัพมาตีอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้าอยู่หลายปี สุดท้ายพวกอ้ายลาวต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของจีนอีกครั้ง พวกอ้ายลาวถูกพวกจีนเบียดเบียนกดขี่ข่มเหงอยู่เสมอ พวกอ้ายลาวบางส่วนจึงอพยพลงมาทางใต้เรื่อยๆ ถึง พ.ศ.๙๓๘ (ค.ศ.๓๙๕) พวกอ้ายลาวทั้ง ๖ เมืองเดิมได้ตั้งตัวเป็นอิสระอีกครั้งและปกครองกันเอง ต่อมาถึง พ.ศ.๑๑๙๒ (ค.ศ.๖๔๙) กษัตริย์เมืองหนองแสองค์หนึ่ง พระนามว่า สีหะนะวะ หรือ สีนุโล (จีนเรียก ชิวโน้วหล้อได้รวบรวมเมืองทั้ง ๖ เป็นอาณาหนองแส หรือน่านเจ้าอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นมาอาณาจักรหนองแสหรือน่านเจ้าจึงกลับมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ใหญ่และขยายอาณาเขตกว้างขวางขึ้น พระเจ้าแผ่นดินนครหนองแส จึงได้ส่งราชทูตไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินจีน นามว่า เกาจงฮ่องเต้ ก็ทรงต้อนรับเป็นอย่างดี ต่อมาถึง พ.ศ.๑๒๒๘ (ค.ศ.๖๘๕) พระเจ้าโลเช้ง ราชโอรสเมืองหนองแส ได้ขึ้นเสวยราชพระองค์ก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีนเรื่อยมา คือ ในปี พ.ศ.๑๒๓๓ (ค.ศ.๖๙๐) พระองค์ได้เสด็จไปประเทศจีนในงานราชาภิเษก พระนางบูเช็กเทียน หลังพระเจ้าโลเช้งสิ้นพระชนม์ได้มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกสามพระองค์ จึงมาถึง พระเจ้าพิล้อโก้ หรือ ขุนบรมราชาธิราช เป็นกษัตริย์อาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า ผู้กล้าหาญ ทรงชำนาญในการสงครามอย่างเยี่ยมยอดยิ่ง ได้ทรงแผ่ขยายอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า ให้กว้างขวางมากที่สุด พระองค์ได้ขึ้นเสวยราชสมบัตินครหนองแส พ.ศ.๑๒๗๒ (ค.ศ.๗๒๙) เมื่อพระชนม์ได้ ๓๒ ปี และได้ส่งราชทูตไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินจีน คือ หงวนจงเพ้งฮ่องเต้ ทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ขุนบรมราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินหนองแสหรือ จีนเรียกว่า น่านเจ้าอ๋อง ประทับอยู่เมืองหนองแส ทรงพิจารณาเห็นว่า ประเทศจีนก็มีกำลังเข้มแข็งและเคยยกกองทัพมาตีเมือง หนองแสอยู่เสมอในอดีต ถึงแม้นพระองค์จะได้เจริญสัมพันธไมตรีไว้แล้วก็ยังไม่มีความเชื่อใจได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๑๒๒๗(ค.ศ.๗๓๑) พระองค์จึงได้ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่ ทุ่งนาน้อยอ้อยหนู และตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า เมืองแถน หรือ เมืองกาหลง และพระองค์ก็ทรงประทับที่ เมืองแถน หรือเมืองกาหลงนี้ถึง ๘ ปี ในระหว่างที่ประทับนั้นพระองค์ได้ยกทัพขึ้นไปตีเอาหัวเมืองของประเทศจีนอัน อยู่ในเขตแดนธิเบตได้หลายเมืองและพระองค์ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกในดินแดน ที่ตีเมืองได้ เรียกว่า เมืองตาห้อ หรือ หอแต เมืองนี้อยู่ห่างจากเมืองหนองแสไปทางเหนือ ๔๐ ลี้ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับที่เมืองตาห้อ ในปี พ.ศ.๑๒๘๓ (ค.ศ.๗๔๐) ขุนบรมราชาธิราช มีพระโอรสประสูติจาก พระนางยมพาลา เอกอัครมเหสี และพระนางเอ็ดแคง เทวีซ้าย ที่มีชื่ปรากฎ อยู่ จำนวน ๗ องค์ ในหนังสือล้านช้างกล่าวไว้ว่า พระราชโอรสของขุนบรมราชาธิราช เมื่อโตขึ้นได้ไปครองเมืองต่างๆ ดังนี้
๑. ขุนลอ ครองเมืองล้านช้าง
๒. ท้าวผาล้าน ครองเมืองตาห้อ หรือ หอแต
๓. ท้าวจูสง ครองเมืองจุลนี คือ เมืองแกว
๔. ท้าวคำผง ครองเมืองโยนก คือ ลานนา
๕. ท้าวอิน ครองเมืองล้านเพีย คือ อยุธยา
๖. ท้าวกม ครองเมืองหล้าคำม่วน
๗. ท้าวเจือง ครองเมืองปะกัน เชียงขวาง
*** ถึงปี พ.ศ.๑๒๘๖ (ค.ศ.๗๔๓) ขุนบรมราชาธิราช ได้ทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางราชไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินจีน นามว่าพระเจ้าเฮี้ยนจงอิดฮ่องเต้ แล้วจึงเสด็จกลับมาเสวยราชสมบัติอยู่นครหนองแส ถึงปี พ.ศ.๑๒๙๒ (ค.ศ.๗๔๙) ก็เสด็จสวรรคต รวมพระชนม์ได้ ๕๓ ปี
*** ในพงศาวดารจีนชื่อ "ยี่จับสี่ซื้อ" กล่าวไว้ว่า เมื่อพระเจ้าพิล้อโก้ (ขุนบรมราชาธิราช) เสด็จสวรรคตแล้ว พระโอรสนามว่า โก้ะล้อผง( คือขุนลอ ) ซึ่งเวลานั้นประทับปกครองเมืองแถน หรือเมืองกาหลงอยู่ และได้เสด็จกลับนครหนองแสขึ้นครองราชสมบัติอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้าแทนพระบิดาและได้แต่งราชทูตไปเจริญราชไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดิน จีนดั่งเดิม ต่อมาพระองค์เสด็จไปประพาสทางเขตแดนจีนถึงเมืองฮุนหนำ ข้าราชการจีนผู้รักษาเมืองไม่ทำความเคารพ พระองค์มีความขัดเคืองพระทัยมาก จึงได้ยกกองทัพไปตีเอาเขตแดนจีนได้หัวเมืองต่างๆในแขวงฮุนหนำถึง ๓๒ เมือง แล้วพระองค์ทรงประทับอยู่เมืองฮุนหนำถึง พ.ศ.๑๒๙๔ (ค.ศ.๗๕๑) พระเจ้าแผ่นดินจีนยกทัพหลวงมาจะตีเอาเมืองฮุนหนำคืน พระเจ้าโก้ะล้อผง หรือ ขุนลอ จึงแต่งทูตไปหาแม่ทัพจีนขอเป็นไมตรีและจะส่งเมืองคืนให้หลายเมือง แม่ทัพจีนไม่ยอมจับราชทูตไป ขังไว้ แล้วยกกองทัพเข้าตีเมืองฮุนหนำ พระเจ้าโก้ะล้อผง หรือ ขุนลอ ตีทัพจีนแตกคืนไปหมด แล้วพระองค์พิจารณาเห็นว่าพวกจีนคงจะยกกองทัพลงมารบอีก จึงได้ไปทำไมตรีไว้กับพระเจ้าแผ่นดินธิเบต ถึงปี พ.ศ.๑๒๙๗ (ค.ศ.๗๕๔) พวกจีนได้ยกกองทัพมาตีเมืองฮุนหนำอีกครั้ง ขุนลอได้สร้างกลศึกหลอกกองทัพจีนเข้าไปถึงเมืองตาห้อ หรือหอแต แล้วแต่งกองทัพมาสกัด ด่านไว้ กองทหารจีนขาดเสบียงอาหารและเกิดโรคอหิวาขึ้นในกองทัพ จึงพากันถอยหนี ขุนลอนำทหารตามตีฆ่าฟันทหารจีนตายลงเป็นจำนวนมาก ราชอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า ได้รับความเจริญรุ่งเรืองและกว้างใหญ่ไพศาลมาตั้งแต่สมัยของ พระเจ้าสินุโล มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาถึง ๑๓ องค์ คิดเป็นเวลานานถึง ๒๕๕ ปี
*** ต่อจากนั้นมาราชอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า ก็มีราชวงค์ที่มีเชื้อสายปะปนกับจีนปกครองบ้านเมือง ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม จึงได้หลอมรวม เปลี่ยนแปลงเข้าด้วยกัน มาถึงปี พ.ศ.๑๗๙๗(ค.ศ.๑๒๔๔) พวกมองโกล คือ พระเจ้าแผ่นดินจีนราชวงค์ หงวนตี้ ได้ปกครองเมืองจีนทั้งหมด แล้วแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขตลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ และเข้าตีราชอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า ได้ ดังนั้น ราชอาณาจักรหนองแส หรือน่านเจ้า จึงหมดอิสระภาพตกเป็นประเทศราชของประเทศจีนตั้งแต่นั้นมา กลุ่มชนชาติที่รักสงบ รักความเป็นอิสระ จึงได้อพยพลูกหลานลงมาทางใต้เรื่อยๆ ชนชาติภูไท หรือผู้ไทย ก็เป็นกลุ่มชนชาติหนึ่งที่อพยพลงมาในครั้งนั้น และได้ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่เป็นหลายเมือง ทุกเมืองยังคงอนุรักษ์ สืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามไว้อย่างเหนียวแน่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
พระยาแถน(ขุนบรมราชาธิราช) บรรพบุรุษของชนชาติภูไทหรือผู้ไทย คนภูไท หรือ ผู้ไทย มีกำเนิดความเป็นมาอย่างไรไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน แต่ จากการสืบค้นประวัติศาสตร์ลาว ได้บันทึกไว้ว่า ในปี พ.ศ.๑๒๒๗(ค.ศ.๖๘๔) ขุนบรมราชาธิราช เป็นกษัตริย์นักรบผู้กล้าหาญของอาณาจักรหนองแสหรือน่านเจ้า พระองค์แรกผู้สร้าง เมืองแถน ขึ้นที่ ทุ่งนาน้อยอ้อยหนู ชาวเมืองเรียกพระนามเจ้าเมืองว่า พระยาแถน พงศาวดารล้านช้าง และพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง บันทึกไว้ว่า "ครั้งเมื่อสมัยบุราณ นานมาแล้วโน้น แผ่นดินที่เฮาอยู่อาศัยนี้ คงเป็นดินเป็นหญ้า มีฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเทียวไปมาหากันบ่ขาด?..คนเฮาสร้างบ้านอยู่เมืองลุ่ม กินปลา เฮ็ดนา กินข้าว??คนเมืองลุ่มนี้ กินข้าวให้บอกให้หมาย กินแลงกินงายก็ให้บอกแก่แถน ได้กินซี้นให้ส่งขา ได้กินปลาให้ส่งฮอย แก่แถน เดิมนั้นคนเรายังไม่มีความคิด ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและวิญญาน หรือภูติผีสางเทวดา ตลอดจนเรื่องราวอิทธิฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจเหมือนปัจจุบันนี้ ต่อมาคนเราได้แบ่งกันออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีกำลัง มีอำนาจมากกว่า เป็นหัวหน้าหรือ ผู้นำ และกลุ่มที่มีกำลังน้อยกว่า เป็นชาวบ้านธรรมดาคอยปฎิบัติตามคำสั่งของคนกลุ่มแรก มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัย หรืออัคคีภัย หรือวาตภัยจากธรรมชาติเกิดขึ้น ชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตทางใจ ก็เลยนึกว่า พระยาแถน โกรธบันดาลโทสะ มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดอุทกภัยขึ้นชาวบ้านได้หนีตายขึ้นไปอยู่ในที่สูงหรือ เมืองบน พระยาแถนก็รับไว้ แต่พออยู่ไปนานๆ ก็ไม่สามารถจะอยู่ได้ พระยาแถน จึงได้พาลงไปส่งให้อยู่ที่หนึ่ง พร้อมกันนั้นก็ให้ควายเขาลู่ไปเพื่อให้ทำไร่ไถนากินกันต่อไป บริเวณที่ไปอยู่นั้นเรียกว่า "นาน้อย อ้อยหนู" ต่อๆ มา เมื่อมีผู้มีบุญเป็นศรีแก่บ้านแก่เมืองเกิดขึ้นคือ ขุนบรมราชาธิราช ได้สร้างเมืองแถน ขึ้นที่ ทุ่งนาน้อย อ้อยหนู จึงได้ชักชวนแนะนำชาวบ้านให้รู้จักวิธีการทำไร่ไถนา ปลูกผักปลูกหญ้า ปลูกผลหมากรากไม้ หัวมันทั้งมวล อันควรกินควรเก็บ จึงเกิดมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้คนและบ้านเมืองค่อยพัฒนา มีความสุข ความสะดวกสบาย มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เกิดมีคติวัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ดนตรี ศิลปะ ศาสนา ความเชื่อถือในเรื่องวิญญานผีปู่ ผีย่า ผีปู่ทวด ตาทวด และมีการกราบไหว้บูชาตราบเท่า ทุกวันนี้
ขุนบรมราชาธิราช กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองแถน มีมเหสี ๒ องค์คือ พระนางแอกแดง (เอคแคง) มีโอรส ๔ องค์ และพระนางยมพาลา มีโอรส ๓ องค์ รวม ๗ องค์ เมื่อพระโอรส เติบโตขึ้น จึงได้ให้ไปสร้างเมืองต่างๆ พร้อมมอบทรัพย์สมบัติ แก้ว แหวน ดังนี้
๑. ขุนลอ ให้ไปสร้างเมืองชวา คือ กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว หลวงพระบาง มอบทรัพย์สมบัติ คือ ฆ้องราง ง้าวตาว แม่วี แหวนธำมรงค์ เลื่อมแสงใส มณีโชติ
๒. ยีผาล้าน ให้ไปสร้างเมืองหอแต มอบทรัพย์สมบัติคือ หอกมงคลคันคำ หน่วย ปัทมราช โชติแสงสิงตะวัน
๓. สามจูสง ให้ไปสร้างเมืองแกวช่องบัว มอบทรัพย์สมบัติ คือ เกิบเงิน ดาบฝักคำ หน่วยมุกตั้ง เลื่อมผิวเงินเลียงล่องนาคราช
๔. ไสผง ให้ไปสร้างเมืองยวนโยนก เมืองลานนา หงสาวดี มอบทรัพย์สมบัติ คือ หน้าซองคำ แล่งชายคำ หน่วยเพชร เชิดตั้งแย้งแผ่นบาดาล
๕. งัวอิน ให้ไปสร้างเมืองชาวใต้ คือ อโยธยา มอบทรัพย์สมบัติ คือ ง้าวปากไชย ดาบมาศ หมากนิลเลื่อม ผ่านส่องแสง
๖. ลกกลม ให้ไปสร้างเมืองเชียงคม คือ อินทปัต(เขมร) มอบทรัพย์สมบัติ คือ ดาบเหล็กพวนฝักถักหวาย อัมพา ผ่องผายงาม ปัดตลอดลิงลำไว้ห้า
๗. เจ็ดเจิง ให้ไปสร้างเมืองพวน(เชียงขวาง) มอบทรัพย์สมบัติ คือ ตาวรางกวน หน่วยปัดคำแสง เลื่อมลายหลากแก้ว
ขุนบรมราชาธิราช ได้ทรงให้โอวาทและแนะนำพร่ำสอนและย้ำเตือนพระโอรสทั้ง ๗ องค์ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปครั้งสุดท้าย ดังนี้
"??ถ้าผู้ใดไปสร้างบ้านแต่งเมือง มีบุญญานุภาพมาก ให้เร่งตั้งอยู่ในทางยุติธรรม อย่าได้คิดทัพศึกสงครามยกไปรบพุ่งเบียดเบียน ตีชิงเอาบ้านเมืองแก่กันและกันผู้ใดอยู่ในยุติธรรมตามคำของบิดานี้ ให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป?." "?..เจ้าพี่น้องหากแม้นลูกกูผู้เดียวดาย เมื่อกูตายไปอยู่ลูกหลังกูพ่อสูเจ้า เจ้าก็ป้านแปงเมือง บุญผู้ใดมีหากได้นั่งบ้านสร้างเมือง อันกว้างขวางว่างใหญ่ บุญผู้ใดมีบ่มีหลาย หากจักได้อันที่แคบขันอันชะแลกปันให้สูเจ้าดังนี้ ภายหน้าผู้ใดอย่าโลภตัณหาอิจฉามักมาก และเอารี้พลช้างม้าไปตกแดน เอาหอกดาบแขนแพนไปตกท่ง แล้วรบเลวเอาบ้านเมืองกันดังนี้ ให้ผู้นั้นพินาศฉิบหาย ทำอันใดอย่าให้เป็น เข็นอันใดอย่าให้ได้ ปลูกไม้อย่าทันตาย ปลูกหวาย อย่าทันล่อน ข้อม่อนอย่าให้รี ปีมันอย่าให้กว้าง เทียวทางให้ฟ้าผ่า เมือป่าให้เสือกิน ไปทางน้ำให้เงือกท่อเรือฉก ไปทางบกให้เสือท่อม้ากินมัน เมืองอ้ายไว้แก่อ้าย เมืองน้องไว้แก่น้อง อย่าทำร้ายเบียดเบียนกัน อย่าผิดข้องข่มเหงเอาก็พ่อเทอญ??."
การที่จะกล่าวถึงชนเผ่าภูไทหรือ ผู้ไทย โดยไม่กล่าวถึงอาณาจักรลาวเลย น่าจะไม่ถูกต้อง เนื่องเพราะทั้งคนลาวก็ดี คนผู้ไทย คนไทย คนญ้อ คนพวน คนข่า คนจีน ฯลฯ ล้วนเป็นชนชาติที่เคยอาศัยสร้างหลักฐานบ้านเรือนอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่ในอดีต จนทำให้มีการหลอมรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ศาสนา ความเชื่อที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ตลอดจนมีการมีการผสมเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน ถ้าจะกล่าวโดยสรุปน่าจะกล่าวว่า พวกเรามีสายเลือดสายโลหิต เชื้อสายหรือโคตรเหง้าบรรพบุรุษเดียวกันนั่นเอง คือ พวกเราทั้งชนชาติไทย ลาว ผู้ไทย ญ้อ พวน จีน เวียตนาม พม่า ตลอดจนชนเผ่าต่างๆในอินโดจีน ล้วนแต่เป็นลูกหลาน ขุนบรมราชาธิราช ด้วยกันทั้งสิ้น

รวบรวมโดย..... เฉลิมชัย แก้วมณีชัย 
อีกข้อมูลหนึ่งเด้อครับ

ชาวภูไท
คำว่า "ผู้ไทย" บางท่านมักเขียนว่า "ภูไท" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเขียนว่า "ผู้ไทย" ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและแค้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือ)ของลาวและเวียตนามซึ่งติดต่อกับส่วนใต้ของประเทศจีน) ราชอาณาจักไทยได้สูญสียดินแดนแค้วนสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)


ชาวผู้ไทยและบ้านเรือนของชาวผู้ไทย เมื่อ 60 ปีก่อน

เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว



เอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่ง
ของชาวผู้ไทย คือ เหล้าอุ
(เหล้าไหทำจากข้าวเปลือก มีไม้ซางดูด)
จนกล่าวได้ว่าชาวผู้ไทย
อยู่ที่ใดต้องมีเหล้าอุอยู่ที่นั่น
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย" ต่อมาสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งนครเวียงจันทน์ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยผู้หนึ่งมีนามว่า "พระยาศรีวรราช" ได้มีความดีความชอบช่วยปราบกบฎในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ พระมหากษัตริย์จึงได้พระราชทานพระธิดาชื่อ "พระศรีวรราช" ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรอันเกิดจาก พระศรีวรราชหัวหน้าผู้ไทยและเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ สิบอแก, เมืองเชียงค้อ, เมืองวังและเมืองตะโปน (เซโปน) สำหรับเมืองวังตะโปนเป็นเมืองของชาวผู้ไทยทที่ตั้งขึ้นใหม่ทางตอนใต้ของราช
อาณาจักรเวัยงจันทน์ (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน) ต่อมาชาวผู้ไทยจากเมืองวังและเมืองตะโปน ได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองต่างๆ ขึ้นอีก คือ เมืองพิน, เมือง,นอง, เมืองพ้อง, เมืองพลาน, เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาเสรีในหนังสือชื่อ "พระราชธรรมเนียมลาว พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479 ซึ่งพระองค์เธอเป็นพระราชธิดาของราชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาดวงคำ ซึ่งเจ้าจอมมารดาดวงคำเป็นพระราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์)



ชาวผู้ไทยเมื่อ 80 ปีก่อน
เมืองวัง, เมืองตะโปน เป็นถินกำเนิดของชาวผู้ไทยในฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ก่อนที่จะอพยบเข้ามาอยู่ในภาคอีสานปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อตอน เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2369 ต่อมาเมื่อกองทัพไทยยกยกข้ามแม่น้ำโขงไปปราบ ปรามจนสงบราบคาบแล้ว ทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยบชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปนจากชายแดนปลายพระราชอาณาเขต ซึ่งใกล้ชิดติดกับแดนญานให้ข้ามโขงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่ง ขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน)ให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัยมิให้เป็นกำลังแก่นครเวียง จันทน์และฝ่ายญานอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้าน ตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...

1. เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)


2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

3. เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังจำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

5. เมืองหนองสูงตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเขียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเขต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุบเมืองลงเป็นอำเภอเสนาง คนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอ ที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)

8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขงในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ)
 









tag:ภูไท , ภูไทวาริชภูมิ